เว็บพนันออนไลน์ UFA959s คาสิโนออนไลน์ สล็อต แทงบอล เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์

เว็บพนันออนไลน์

เอลเลียตต์ เจ็บหนักครั้งนี้ ทำลายอาชีพนักเตะท่กแค่ไหน ค้นอดีตถึง "ฮาร์วี่ย์ เอลเลียตต์"

เอลเลียตต์ อาการบาดเจ็บที่ชวนสยองของ ฮาร์วี่ย์ กองกลางดาวรุ่งของ ลิเวอร์พูล ดูจะน่าเป็นห่วงไม่น้อย เขาต้องเข้ารับการผ่าตัดจากการวินิจฉัยว่า “ข้อเท้าหลุด”.. นี่คือฝันร้ายของนักเตะที่อายุแค่ 18 ปีเท่านั้น

ในวัยแห่งความฝัน ออกสตาร์ตตัวจริง 3 เกมติดต่อกันให้กับ 1 ในทีมที่ดีที่สุดในโลกอย่าง ลิเวอร์พูล ไม่ต้องบอกก็รู้ว่ามันจะรับมือยากขนาดไหน ?

วันนี้เราจะย้อนกลับไปเรื่องของการเจ็บยาวของนักเตะตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน แล้วลองมาวิเคราะห์ดูว่า เอลเลียต จะต้องเจอกับอะไรบ้างหลังจากการผ่าตัดสิ้นสุดลง และจะกลับมาเก่งเหมือนเดิมได้ไหม

อาการบาดเจ็บกับนักเตะนักฟุตบอลคือของคู่กัน นี่คือกีฬาที่ใช้ร่างกายเข้าห้ำหั่นกันตลอด ไม่ใช่แค่ 90 นาที แต่มันยังรวมถึงในสนามซ้อมหรือแม้กระทั่งขั้นตอนของการเข้ายิมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของร่างกาย

ของที่ใช้ทุกวันอย่างไรก็ต้องมีวันทรุดโทรมต้องซ่อมบำรุง ร่างกายของนักฟุตบอลหรือแม้กระทั่งนักกีฬาชนิดอื่น ๆ ก็เช่นกัน เพียงแต่วิธีการรับมือจะแตกต่างออกไป การซ่อมไม่ได้เหมือนกับข้าวของเครื่องใช้ที่เรียกช่างมาจัดการเปลี่ยนอะไหล่ทุกอย่างก็จบ เพราะการซ่อมร่างกายนั้นมีความละเอียด มากขั้นตอน และต้องระมัดระวังยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งปวง

ข่าวกีฬาวันนี้ เกม พรีเมียร์ลีก นัดที่ 4 ของฤดูกาล 2021-22 แม้ ลิเวอร์พูล จะบุกชนะ ลีดส์ ยูไนเต็ด 3-0 แต่โฟกัสของเกมนั้นกลับไปอยู่ที่อาการบาดเจ็บอย่างรุนแรงตรงข้อเท้าของ ฮาร์วี่ย์ เอลเลียต กองกลางดาวรุ่งวัยเพียง 18 ปีเท่านั้น หลายคนบอกว่าในโชคร้ายยังคงมีโชคดี เพราะเขายังเด็กและร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วกว่าปกติ ซึ่งนั่นก็จริง … ไม่มีใครเถียงแน่ เพราะวิธีการดูแลรักษาร่างกายของนักฟุตบอลในยุคนี้ มีสิ่งใหม่ ๆ และองค์ความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย

 

เอลเลียตต์

อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเตะดาวรุ่ง มีสิ่งหนึ่งที่ยากยิ่งกับสถานการณ์เช่นนี้คือ “สภาพจิตใจ” ของพวกเขาที่ดาวน์ลงมาก และเรื่องนี้จะมีใครบอกได้ดียิ่งกว่านักจิตวิทยาด้านการกีฬา ที่เคยดูแลสภาพจิตใจของนักเตะในช่วงที่พวกเขาต้องรู้สึกแปลกแยกกับเพื่อนร่วมทีมในเวลาที่เผชิญกับอาการบาดเจ็บ

ลีออน แม็คเคนซี่ อดีตนักเตะระดับพรีเมียร์ลีก เล่าผ่านประสบการณ์ของเขาผ่านเว็บไซต์ Metro ว่า ต่อให้เตรียมใจรับกับเรื่องอาการบาดเจ็บไว้แค่ไหน ก็ไม่มีนักเตะอาชีพคนใดในโลกที่จะทำใจได้ง่าย ๆ หากมันเกิดขึ้นจริง

“ไม่ว่าอาการบาดเจ็บจะเกิดจากการใช้งานมากจนสึกหรอ หรือการลงเล่นตั้งแต่วัยเด็ก การเข้าปะทะที่โชคไม่ดี อะไรก็ตาม คุณไม่สามารถทำใจรับมือกับมันได้เลย เพราะเมื่อคุณรักสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก ๆ และมันถูกพรากไปจากคุณโดยที่คุณไม่ได้เลือกวิธีนั้นเอง มันสามารถทำลายสภาพจิตใจของคุณได้เลย” แม็คเคนซี่ อดีตนักเตะของ นอริช ซิตี้ ในช่วงปี 2003-2006 กล่าว

“โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณยังเป็นนักเตะอายุน้อยและได้รับบาดเจ็บอย่างต่อเนื่อง หัวของคุณจะหมุนไปหมด คุณจะตอบตัวเองไม่ได้เลยว่าฉันกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ คุณจะอ่อนแอ เพราะจะทำสิ่งที่อยากและคาดหวังไว้ไม่ได้เลยแม้แต่ข้อเดียว”

แม็คเคนซี่ เล่าว่าเขาเคยคิดถึงขั้นเกือบจะฆ่าตัวตายเลยด้วยซ้ำ หลังจากเจ็บมาตลอดตั้งแต่เป็นดาวรุ่ง ยาวมาจนถึงอายุ 33 ปี … มันเป็นเพราะเขากำลังเดินหน้าสู่ความมืดมิด ความกลัว กลัวว่าโค้ชและเพื่อนร่วมทีมจะประเมินว่าเขาอ่อนแอลงในทุกวัน สภาพใจจิตใจของเขาก็เอาแต่คิดทบทวนว่าคงต้องกลายเป็นตัวสำรองหลังจากนี้

เขาเชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้สึกแบบนี้ แต่ในหมู่นักเตะอาชีพ พวกเขาจะไม่พูดมันออกมา พวกเขาจะซ่อนความกลัวไว้ เพราะไม่อยากให้ใครมาเห็นว่าพวกเขากำลังอ่อนแอ

เรื่องของ เอลเลียต คงแย่มากหากเขาเกิดเร็วกว่านี้สัก 25-30 ปี … ซึ่งยุคสมัยนั้นการดูแลนักเตะบาดเจ็บขาดความละเอียดไปมาก มีเรื่องเล่าของนักเตะในทีมของกุนซือ ไบรอัน คลัฟ ที่เคยคุม นอตติงแฮม ฟอเรสต์ และ ดาร์บี้ เคาน์ตี้ ที่บาดเจ็บ แต่ตัวของ คลัฟ กลับไม่ฟังคำเตือนของแพทย์ เมื่อเขาใช้งานนักเตะที่ยังเจ็บอยู่ อาการบาดเจ็บก็ทวีขึ้น และสุดท้ายก็ต้องกลับมาพักใหม่

อาการช็อกและหดหู่จากการบาดเจ็บหนักตามที่กล่าวมาข้างตัน สามารถยืนยันได้จากการบอกเล่าของ ไมเคิล โคลฟิลด์ นักจิตวิทยาชั้นนำที่เคยดูแลและให้คำปรึกษาด้านสภาพจิตใจกับนักเตะที่เคยเจ็บหนักอย่าง อิลคาย กุนโดกัน กองกลางของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ และ เคิร์ท ซูม่า อดีตกองหลังของ เชลซี ที่ปัจจุบันเล่นอยู่กับ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด

อย่างไรก็ตาม ตัวของ โคลฟิลด์ ยอมรับว่า ขั้นตอนที่ยากที่สุดไม่ใช่ตอนที่นักเตะเหล่านี้โดนหามออกจากสนาม หรือแม้กระทั่งการเข้าห้องผ่าตัด พวกเขารู้ดีอยู่แล้วว่าอาชีพของพวกเขาเสี่ยงที่จะได้เจอกับเรื่องแบบนี้ … แต่ที่ยากที่สุดคือหลังจากที่พวกเขาออกจากห้องผ่าตัด และต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเดือน ๆ ต่างหาก ซึ่งจุดนี้ทำให้ปัจจุบันสโมสรต่าง ๆ ต้องใช้งานทีมนักจิตวิทยาเข้ามาช่วย เพื่อให้นักเตะอยู่ในสภาพจิตใจที่ดี รู้ว่าพวกเขาจะโอเคกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเลิกดำดิ่งในความผิดหวังแบบไม่รู้จบเหมือนกับนักเตะยุคเก่า 

 

“พวกเขาคือคนที่อยู่กับฟุตบอลมาแทบทั้งชีวิต และการที่อยู่มาวันหนึ่งพวกเขาหยุดทำงาน ทำได้แค่ดูโทรทัศน์บนเตียงที่ลุกไปไหนไม่ได้  พวกเขาจะต้องเจอกับความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยแทบทุกวินาทีเลย”

 

“เพราะในขณะที่พวกเขาหยุด คนอื่น ๆ กำลังก้าวหน้า โดยเฉพาะกับนักเตะดาวรุ่งที่กำลังมีทิศทางที่ดี พวกเขาจะกลัวไปหมดทุกอย่าง เพราะก่อนหน้านี้ความฝันของพวกเขากำลังลอยไปถึงไหนต่อไหน แต่การต้องมานอนอยู่กับที่ พวกเขาจะรู้สึกได้ทันทีเลยว่า ฉันจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ไหม และถึงตอนนั้นสิ่งที่เคยได้รับ (หมายถึงโอกาสลงเล่นในเกมระดับสูง) จะอยู่กับพวกเขาต่อไปหรือไม่” ไมเคิล โคลฟิลด์ อธิบายผ่าน The Guardian